วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร



ระบบ หมายถึง  การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ  อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน  สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน  ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท


วิธีการเชิงระบบ  วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน  เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ  ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน  เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย









ระบบสารสนเทศ
           ระบบสารสนเทศ  คือ  ประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้และสนับสนุนการบริหาร  และการตัดสินใจ  ทั้งในระดับปฏิบัติการ  ระดับกลาง  และระดับสูง  ระดับสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น  เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
          องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ  มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน  ได้แก่  ระบบการคิด  และระบบของเครื่องมือ
         ระบบการคิดหมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก  แจกแจงและจัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของงาน  สารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มีความซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง  เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
         ระบบเครื่องมือ  หมายถึง  วัตถุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม  จัดเก็บ  และเผยแพร่  สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร  หน่วยงาน  หรืองานธุระกรรมต่างๆ  แทบทุกวงการจนทำให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ 






องค์ประกอบของวิธีระบบ
วิธีระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1.            ปัจจัยนำเข้า  หมายถึง  วัตถุสิ่งของต่างๆ  รวมถึงเหตุการณ์  สถานการณ์  วัตถุประสงค์  ปัญหา  ความต้องการ  ข้อกำหนด  กฎเกณฑ์  อันเป็นต้นเหตุของประเด็นปัญหา
2.            กระบวนการ  หมายถึงวิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติงาน  การสร้างสรรค์  การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือความต้องการ


3.            ผลลัทธ์  หมายถึง  ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้า  ผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้  ซึ่งสามารถประเมินผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้



ระบบสารสนเทศ
           ระบบสารสนเทศ  คือ  ประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้และสนับสนุนการบริหาร  และการตัดสินใจ  ทั้งในระดับปฏิบัติการ  ระดับกลาง  และระดับสูง  ระดับสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น  เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
          องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ  มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน  ได้แก่  ระบบการคิด  และระบบของเครื่องมือ
         ระบบการคิดหมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก  แจกแจงและจัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของงาน  สารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มีความซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง  เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
         ระบบเครื่องมือ  หมายถึง  วัตถุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม  จัดเก็บ  และเผยแพร่  สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร  หน่วยงาน  หรืองานธุระกรรมต่างๆ  แทบทุกวงการจนทำให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ 
องค์ประกอบด้านต่างๆของระบบสารสนเทศ
1.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย  ในการแก้ไขปัญหามี 4 ประการ  ได้แก่  ข้อมูล(Data) สารสนเทศ (Information) ความรู้ (knowledge) ปัญญา (Wisdom) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน


2.องค์ประกอบสารสนเทศด้านขั้นตอน  ในการดำเนินงานมี 3 ประการ  คือ  ข้อมูลนำเข้า(Input) กระบวนการ (Process) และผลลัทธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนของมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผลหรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัทธ์และจัดเก็บเพื่อนำออกมาเผยแพร่ในลักษณะ


3.  องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทั่วไป  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้  คือ  เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ (Software) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ (Peopleware)


ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศมีอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ
วิธีการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ  แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
1.            วิธีการวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน
2.            วิเคราะห์หน้าที่
3.            วิเคราะห์งาน
ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ
1.            การเลือกวิธีการหรือกลวิธี  เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธีเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2.            ดำเนินการแก้ไขด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.            ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแบบจำลอง
       แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน  ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น  หรือรูปสามมิติ  แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง  องค์ประกอบ  และขั้นตอนในการดำเนินงาน  สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง


ประเภทของระบบสารสนเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศจำแนก แบ่งออกได้ 3 ระดับ  ได้แก่
1.            ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง  ราคาถูก  และมีความสามารถในการประมวลผลด้วยความเร็วสูง  ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ใช้งานได้ง่าย  กว้างขวางและคุ้มค่ามากขึ้น
2.            ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.            ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวมเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก

ข้อมูล(Data)
ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้  มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ  เหตุการณ์หรือสถานการณ์  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของ รูปภาพ  แสง  สี  เสียง  รส  นอกจากนี้ข้อเท็จจริงอาจจะอยู่ในรูปของคุณสมบัติเป็นน้ำหนัก  แรง  อุณหภูมิ  จำนวน  ซึ่งสามารถแทนค่าด้วยตัวเลข  ตัวอักษรข้อความก็ได้
ความรู้(Knowledge)
ความรู้  เป็นสภาวะทางปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา  กระบวนการ  และขั้นตอน  อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆ  หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
      การสร้างสารสนเทศได้ต้องอาศัยกระบวนการรวบรวมและการประมวลผลโดยมีวิธีการการจัดการดังนี้
 1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
           เนื่องจากข้อมูลในโลกนี้มีมากมายหลายชนิดดังกล่าวแล้ว  การจะหาข้อมูลที่ดีได้จะต้องมีการประมวลผลตามขั้นตอนต่างๆที่เหมาะสม  ดังนี้
1.            การรวบรวมข้อมูล
2.            การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
3.            การจัดการข้อมูล
4.            การควบคุมข้อมูล
5.            การสร้างสารสนเทศ
      2. วิธีการแก้ข้อมูล
          ข้อมูลอาจจะเกิดขึ้นได้เองหรือเกิดจากการสร้าง  การทดลอง  และการประมวลผลก็ได้  เมื่อต้องการได้ความรู้  หรือต้องการทราบความหมาย  หรือคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  เราต้องเก็บข้อมูลของสิ่งนั้นเพื่อนำมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ
1.            การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
2.            การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง  หรือเป็นเจ้าของข้อมูล
3.            การวัดจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง

เครือข่ายสื่อสารข้อมูล
เครือข่ายสื่อสารข้อมูล  คือ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้  นิยมแบ่งเครือข่ายตามขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งาน  ได้แก่
1.            แลน  คือ  เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่  จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้
2.            แวน  คือ  เครือข่ายบริเวณกว้าง  ระยะทางมากกว่า  10  กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร
3.            อินเทอร์เน็ต  คือ เครือข่ายขนาดใหญ่  ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศนั้นสามารถแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ            1. ระดับปฎิบัติการ ที่เป็นลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคล โดยระบบสารสนเทศที่อยู่ในระดับปฏิบัติการนั้น เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในการสนับสนุนให้องค์กรทำงานอย่างมีระบบเท่านั้น โดยมุ่งเน้นในการสนับสนุนงานแบบวันต่อวัน แม้ว่าระบบสารสนเทศจะเกิดปัญหา ก็ยังไม่ทำให้องค์กรล่มสลาย
            2. ระดับการรวบรวม โดยที่ทัศนะในระดับบุคลากรจะถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานของหน่วยงานหรือในระดับการปฏิบัติงาน มาตรวัด และทัศนวิสัย
            3. ระดับการบูรณาการ ที่ขยายระดับ 2 การรวบรวม เป็นภาพรวมของธุรกิจ
            4. ระดับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งองค์กรจะปรับตัวให้สอดคล้องกับตลาดรวม และเป็นผู้นำด้านการตลาดโดยการประยุกต์ใช้ความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ผู้จัดส่งทั้งหลาย และหุ้นส่วนทางธุรกิจทั้งหมด
            5. ระดับนวัตกรรม ซึ่งการเติบโตและโอกาสที่จะได้รายได้มากที่สุด ถูกเสริมด้วยความคิดสร้างสรรค์และการปรับเปลี่ยนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ให้กลับมาเป็นรายได้